วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (computer)เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซีต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถจดจำ  ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบอีกทั้งยังตอบสนองด้านที่ต้องงการด้านอื่นๆอีกมากมาย
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน  5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) หน่วยส่งออก (output unit) และหน่วยเก็บข้อมูล (storage unit)

3.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีบอร์ด เม้าส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลดังกล่าว จะถูกส่งไปยังแรม ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลจาการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกันอาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จาการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลที่อยู่ในแรมลงในอุปกรณ์ของหน่วยเก็บข้อมูล เช่น แผ่นบักทึก แผ่นซีดี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวกลับมาใช้ในอนาคตโดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับไดร์ฟ การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (bus)

3.2.1 ซีพียู และการประมวลผลข้อมูล ซีพียู (CPU) มีลักษณะเป็นชิป (chip) ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย
ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1.หน่วยควบคุม เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
2.หน่วยคำนวณตรรกะ หรือเอแอลยู เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อการตัดสินใจ

3.2.2 หน่วยความจำและการจัดเก็บข้อมูล
หน่วยความจำ (memory unit) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกันซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1)หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช

2) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เช่น แรม เป็นต้น

3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส
ขนาดของบัส (bus width) กำหนดโดยจำนวนบิตที่คอมพิวเตอร์สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ในหนึ่งครั้ง ตัวอย่างเช่น สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 32 บิต บัสขนาด 64 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 64 บิต เป็นต้น
การบอกความเร็วบัสมักวัดเป็นจำนวนครั้งที่รับส่งข้อมูลได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz) เช่น บัสที่มีความเร็ว 1 MHz

3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
     เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลให้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานได้ด้านใด แม้ว่าราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกซื้อเค
รื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน

3.4 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดไว้ให้แล้ว และเลือกจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
           สำหรับผู้ใช้ที่ต้องเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนยีอย่างรวดเร็ว หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชนิดมีดังนี้
3.4.1. ซีพียู  เป็นอุกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น และซีพียูยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต แคช ความเร็วบัส เป็นต้น

3.4.2. เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณ และบัสต่างๆขั้วสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตติดอุปกรณ์รอบข้าง เช่น ม์ และคีย์บอร์ด เป็นต้น

3.4.3.แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์ เอสดีแรม ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อต หน่วยความจำบนเมนบอร์ด ปัจจัยในการเลือกซื้อแรม เช่น ประเภทของแรม ความจุ ความเร็วของแรม

3.4.4. ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันในพีซีโดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรัยฮาร์ดดิสก์ทีร่มีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้กับโน้ตบุ๊ก ปัจจัยในการเลือกซื้อฮาร์ดดิกส์ คือ การเชื่อมต่อ ความจุข้อมูล ความเร็วรอบ  เป็นต้น
3.4.5. การ์ดแสดงผล ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลมาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพการ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ด ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล คือ ชิปประมวลผลกราฟิก หรือ จีพจยู การเชื่อมต่อ ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด
3.4.6. ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซดีไดร์ฟและดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่พีซีทุกเครื่องควรมี เนื่องจากซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมากนอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสู.และมีราคาถูก
3.4.7. เคส โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลื่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดเหนี่ยวให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น หลักการพิจารณาการเลือกซื้อเคสเช่น
- มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
- มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์
- ลักษณะเคส
3.4.8.จอภาพ ที่พบจะมีอยู่สองประเภท คือ จอซีอาร์ที และจอแอลซีดี ซึ่งปัจจุบันจอแอลซีดีเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่น้อยในการจัดวาง ปัจจัยในการเลือกซื้อเคส คือ ความละเอียดของภาพ ขนาด ทเป็นต้น
3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อูปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลาประกันต่างกัน โดยอายุของการประกันมากขึ้น อาจมีผลให่ราคาสูงขึ้นบนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดทันที
3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1. ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3. ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
4. ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้สนามแม่เหล็ก
เป็นต้น

3.7 การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น­งพีซี
เครื่องคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอูปกรณ์ที่ทนต่อการใช้งาน ถ้าหากใช้งานเครื่องอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามมีบางปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผ็ใช้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น
1.เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่
สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟกำลังไฟฟ้าไม่พอ
การแก้ไข เปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่กำลังไฟฟ้ามากขึ้น

2.อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีไม่ได้
สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน

3.เครื่องรีสตาร์ตเองขณะใช้งาน
สาเหตุ  ซีพียูมีความร้อนสูง
การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่




วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ต'


5.1  อินเทอร์เน็ต
5.1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต  อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นเครือข่ายขนาดใหญที่
เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรณืธุรกิจ  หน่วยงานของรัฐบาล  สถานศึกษา  ตลอดจนเชื่อมโยง
คอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน
  ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต  เช่น  เวิลด์ไวด์เว็บ
อีเมล์  (e-mail)  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (e-commerce)
5.1.2โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
ประกอบด้วนเครือข่ายระบบท้องถิ่น  ระดับภูมิภาคระดับชาติ  และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
                            

เกร็ดน่ารู้
แกนหลักของอินเตอร์เน็ต
หมายถึง  เส้นทางหลักในการรับข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  เพื่อเชื่อมโยงแลนหรือแวนจาก
องค์กร  สำนักงาน  มหาวิทยาลัย  โรงเรียนรวมทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างๆ


5.1.3การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน  นักเรียน  หรือนักศึกษา  มักจะเข้าถึง
อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน   โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ซึ่งเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
ความเร็วสูง  ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์
ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ   เช่น   เอดีเอสแอล  เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี  หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย  เช่น  ไวไฟ  หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม

   ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  หรือไอเอสพี  (Internte  Service  Provider:ISP)
ให้บริการการเชื่อต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้  โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน  บริษัทที่ให้บริการ
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น  ทีโอที  ซีเอส  ล็อกอินโฟ  กสท   โทรคมนาคม   ทีทีแอนด์ที  และ
สามารถเทคคอม
                            

5.1.4การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต   คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบน
อินเทอร์เน็ต  มีคูณลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น  ประเภทของคอมพิวเตอร์  ซีพียู
นอกจากนี้ในรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแลนหรือแวน
ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน  การที่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกัน
ให้สามารถทำงานร่วมกันได้

เลขที่อยู่ไอพี
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่บนอินเตอร์เน็ต  จะมีความหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร
เรียกว่า  เลขที่อยู่ไอพีหรือไอพีแอดเดรส(Ip  address)  ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย

ระบบชื่อโดเมน
เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งอยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งาน
ดังนั้นจึงมีระบบชื่อโดเมนให้มีระบบชื่อโดเมน(Domain  Name  System:DNS)
ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่อภาษาอังกฤษหลายส่วนครั้นด้วนเครื่องหมายจุด  เข้น  www.ipst.ac.th

         
5.2เวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ  (World  Wide  Wed)  หรือเรียกสั่นๆ  ว่า  เว็บ  เป็นการให้บริการข้อมูลแบบ
ไฮเปอร์เท็กซ์  (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน
กับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ  เช่น 
.เว็บเพจ  (Wed  page)  เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล
.เว็บไซต์  (Wed  site)  เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีการเกี่ยวข้องกัน  และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
.เว็บเซิร์ฟเวอร์  (Wed  server)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ  เมื่อผู้ใช้เองของเว็บเพจ  ผ่านบราวเซอร์  โดยใช้ยูอาร์แอล  (Uniform Resource Locator:URL)
ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ  เว็บเซร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กับไปแสดงผลผ่านเว็บ
บราวเซอร์ของผู้ใช้
                                       

5.2.1การเรียนรู้ดูเว็บ  เว็บบราวเซอร์  (Wed  drowser)  เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดง
เว็บเพจ  และสามารถเชื่อโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยง

5.2.2ที่อยู่เว็บ  ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ  เช่น
เว็บเพจ  สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Unifform  Resource  Locator:URL)
 .โพรโทคอล  ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหลายเว็บ 
เช่น  เอชทีทีพีและเอฟทีพี

.ชื่อโดเมน  ใช้สำหรับระบุชื่อโดนเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล
เช่น  ชื่อโดเมนwww.ipst.ac.th

.เส้นทางเข้าถึงไฟล์(path)ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์

.ชื่อข้อมูล  ชื่อไฟล์ที่ร้องข้อ  เช่น  ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูป  
ไฟล์วีดีโอ   ไฟล์เสียง

5.2.3การค้นหาผ่านเว็บ
.โปรแกรมค้นหา  หรือเสิร์ชเอนจิน   (search  engines)  ใช้สำหรัเว็บที่ต้องการ
โดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ  (keyword)เพิ่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่
ซึ่งรวบรวมเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท  หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่ความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภทหรือแหล่งข้อมูล  เช่น  คค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ
  วีดีทัศน์    เสียง   ข่าว    แผนที่   หรือบล็อก   ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา  เช่น   Ask ,AltaVista  

.ตัวดำเนินการในการค้นหา    เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ  ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา(search  engine  operators)
ประกอบกับคำหลัก  จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น   ตัวอย่างดำเนินการในการค้นหา 

5.2.4เว็บ  1.0และเว็บ2.0
เว็บ1.0(Wed 1.0)   เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทาง
เดียว  ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภดข้อมูลและสารสนเทศตาม
ที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อมูลจำกัดหลายประการ   เช่น  ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุน
ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

5.3บริการบนอินเตอร์เน็ต
บริการบนอินเตอร์เน็ต  เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ใน
รูปแบบต่างๆทั้งในระดับบุคคล  กลุ่ม  และองค์กร  ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิดเห็น  ข้อมูล  สารสนเทศ  รวมถึงความรู้  โดยอาศัยเครื่องมือ  เทคโนโลยีหรือในบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

5.3.1ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรืออีเมล (e-mail)  เปิดบริการรับส่งจดหมาย
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้  โดยสามารถส่งได้ทั้ง
ข้อความ  และไฟล์ต่างๆ  ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล  (e-mail  address)
เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย   เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย
ตัวอย่างอีเมล
5.3.2การสื่อสารในเวลาจริง(real-time  communication)
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกับได้ทันที
ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร  สามารถส่งเป็นข้อความ
-  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  ไปยังผู้รับ  ในการสื่อสารนี้จะต้องเข้าใช้ระบบ
ในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้
ทุกคลในกลุ่มได้
. แชท  (chat)   เป็นการสนทนาผ่าน
อินเตอร์เน็ต  ทั้งระหว่างบุคคล  2  คน  หรือ
ระหว่างบุคคล   โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์
เช่น    Windows   Live   และ   Yahoo  messenger
ตัวอย่างโปรแกรมแชท

.ห้องคุย(chat room)  เป็นการสนทนา
ที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนจัย
ซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพุดคุยกันระหว่าง
บุคคลหรือเป็นกลุ่ม

.วอยซ์โอเวอร์ไอพี  หรือวีโอไอพี(voice  over  IP: voIp)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนิ

5.3.3เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม  (social  networking   Web  sites)
เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน
เช่น  การแบ่งปันวีดิทัศน์   การเล่าสู่กันฟังที่ได้รับ  การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น 
การทำความรู้จักกัน  และการร่วมกลุ่ม  
                    

5.3.4บล็อก  (blog)  เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน
ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์  ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ  ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้  คำว่า  บล็อก  (Web  log)   เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึก
ข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้


5.3.5ไมโครบล็อก  (microdlog)  เป็นบล็กที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็น
ที่กระชัดกะทัดรัด  ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อก
ของตนเอง  หรือเลือกตามสมาชิกอื่นได้

5.3.6 วิกิ (wiki)  เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ
ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนานเฉพาะเรื่อง  สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่   
หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

5.3.7  อาร์เอสเอส  (Really  Simple  Syndication: RSS)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ(subscribe)  ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆโดยตรง
 เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองที่ละเว็บไซต์

5.3.8 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (electronic commerce หรือ e-commerce)
เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย  หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเตอร์เน็ต  โดยใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ  รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและทุก  24  ชั่วโมง
                                       

5.4 โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
ขณะใช้งานอินเตอร์เน็ต  มักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า  มัลแวร์  (malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย  หรือรบกวนระบบ
คอมพิวเตอร์โดยแบ่งออกได้หลายชนิด  เช่น

.  ไวรัส  (virus)  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งาน
และอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ
                                     

. เวิร์ม (worm)  หรือหนอนคอมพิวเตอร์  เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเอง
แล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ   ได้ทันที  โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์
                                         

มาโทรจัน  (Trojan  horst)   เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดย
การแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น  เช่น  การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม
หรือ  โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์
                             
. สปายแวร์  (spyware)  เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตามบันทึกข้อมูลส่วนตัวบุคคล 
รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเตอร์เน็ต
                                      
. แอดแวร์  (adware)    เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวโหลดหรือมีการ
ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว  จะแสดงหน้าต่างป๊อปอัพ  (pop-up)
ที่มีการโฆษณาสินค้า  ออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัต

5.5ผลกระทบจากการใช้งานอินเตอร์
บริการบนอินเตอร์เน็ตมีการพัฒนาใหมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย  ผู้ใช้สามารถเข้าถึง
อินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ด้วยตนเองทั้งเพื่อการศึกษา  การทำงาน  ความบันเทิง  หรือเพื่อตอบสนองความสนใจอื่นๆ  ดังรูป5.26
สามารถช่วยรถช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้ที่อยู่ในถิ่นไกล  ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในเชิงวิชาการ

บัญญัติ  10  ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
 1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น  เช่น  ไม่ควรโพสต์ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นในเว็บบอร์ด
ให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

2.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำรบกวนผู้อื่น  เช่น  เปิดฟังเพลงด้วยคอมพิวเตอร์  หรือเล่นเกมรบกวน
ผู้อื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

3.ต้องไม่เปิดดูไฟล์ของคนอื่นก่อนได้รับอนุญาต  เช่น  แอบเปิดอ่านอีเมลของเพื่อน

4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล  ข่าวสาร  เช่น  การแอบเจาะเพื่อขโมยข้อมูล
การค้าของบริษัท

5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ  เช่น  การแอบเจาะระบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงคะแนน

6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกหรือใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์โดยทีตนเองไม่มีสิทธิ์  เช่น
ดาวโหลดโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์มาใช้  โดยมีโปรแกรมแก้ไขเพื่อให้ใช้งานได้

7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์  เช่น
ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้

8.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองพัฒนาขึ้น
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์  โดยเคารพกฎ  ระเบียบ  กติกา  และมารยาทของสังคมนั้น