วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (computer)เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซีต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถจดจำ  ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบอีกทั้งยังตอบสนองด้านที่ต้องงการด้านอื่นๆอีกมากมาย
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน  5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) หน่วยส่งออก (output unit) และหน่วยเก็บข้อมูล (storage unit)

3.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีบอร์ด เม้าส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลดังกล่าว จะถูกส่งไปยังแรม ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลจาการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกันอาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จาการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลที่อยู่ในแรมลงในอุปกรณ์ของหน่วยเก็บข้อมูล เช่น แผ่นบักทึก แผ่นซีดี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวกลับมาใช้ในอนาคตโดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับไดร์ฟ การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (bus)

3.2.1 ซีพียู และการประมวลผลข้อมูล ซีพียู (CPU) มีลักษณะเป็นชิป (chip) ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย
ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1.หน่วยควบคุม เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
2.หน่วยคำนวณตรรกะ หรือเอแอลยู เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อการตัดสินใจ

3.2.2 หน่วยความจำและการจัดเก็บข้อมูล
หน่วยความจำ (memory unit) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกันซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1)หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช

2) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เช่น แรม เป็นต้น

3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส
ขนาดของบัส (bus width) กำหนดโดยจำนวนบิตที่คอมพิวเตอร์สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ในหนึ่งครั้ง ตัวอย่างเช่น สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 32 บิต บัสขนาด 64 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 64 บิต เป็นต้น
การบอกความเร็วบัสมักวัดเป็นจำนวนครั้งที่รับส่งข้อมูลได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz) เช่น บัสที่มีความเร็ว 1 MHz

3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
     เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลให้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานได้ด้านใด แม้ว่าราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกซื้อเค
รื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน

3.4 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดไว้ให้แล้ว และเลือกจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
           สำหรับผู้ใช้ที่ต้องเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนยีอย่างรวดเร็ว หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชนิดมีดังนี้
3.4.1. ซีพียู  เป็นอุกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น และซีพียูยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต แคช ความเร็วบัส เป็นต้น

3.4.2. เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณ และบัสต่างๆขั้วสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตติดอุปกรณ์รอบข้าง เช่น ม์ และคีย์บอร์ด เป็นต้น

3.4.3.แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์ เอสดีแรม ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อต หน่วยความจำบนเมนบอร์ด ปัจจัยในการเลือกซื้อแรม เช่น ประเภทของแรม ความจุ ความเร็วของแรม

3.4.4. ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันในพีซีโดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรัยฮาร์ดดิสก์ทีร่มีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้กับโน้ตบุ๊ก ปัจจัยในการเลือกซื้อฮาร์ดดิกส์ คือ การเชื่อมต่อ ความจุข้อมูล ความเร็วรอบ  เป็นต้น
3.4.5. การ์ดแสดงผล ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลมาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพการ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ด ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล คือ ชิปประมวลผลกราฟิก หรือ จีพจยู การเชื่อมต่อ ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด
3.4.6. ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซดีไดร์ฟและดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่พีซีทุกเครื่องควรมี เนื่องจากซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมากนอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสู.และมีราคาถูก
3.4.7. เคส โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลื่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดเหนี่ยวให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น หลักการพิจารณาการเลือกซื้อเคสเช่น
- มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
- มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์
- ลักษณะเคส
3.4.8.จอภาพ ที่พบจะมีอยู่สองประเภท คือ จอซีอาร์ที และจอแอลซีดี ซึ่งปัจจุบันจอแอลซีดีเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่น้อยในการจัดวาง ปัจจัยในการเลือกซื้อเคส คือ ความละเอียดของภาพ ขนาด ทเป็นต้น
3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อูปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลาประกันต่างกัน โดยอายุของการประกันมากขึ้น อาจมีผลให่ราคาสูงขึ้นบนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดทันที
3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1. ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3. ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
4. ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้สนามแม่เหล็ก
เป็นต้น

3.7 การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น­งพีซี
เครื่องคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอูปกรณ์ที่ทนต่อการใช้งาน ถ้าหากใช้งานเครื่องอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามมีบางปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผ็ใช้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น
1.เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่
สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟกำลังไฟฟ้าไม่พอ
การแก้ไข เปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่กำลังไฟฟ้ามากขึ้น

2.อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีไม่ได้
สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน

3.เครื่องรีสตาร์ตเองขณะใช้งาน
สาเหตุ  ซีพียูมีความร้อนสูง
การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่